วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

learning log



Learning Log

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง (1/02/59)
                        จากการที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (อักษรภาษาอังกฤษ) ในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง เนื่องจากงานแปลแต่ละชิ้นงานนั้นจะต้องใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงแบบเดียวกันทั้งหมดเพราะว่างานแปลชิ้นนั้นจะได้มีความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นการถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ หรือ ชื่อเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะเข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน รวมทั้งได้รับประโยชน์จากงานแปลชิ้นนั้นอีกด้วย
                        หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงเป็นการถ่ายทอดโดยวิธีถ่ายเสียง (Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสีย งใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์ เช่น จันทร์ = chan, พระ = phra, แก้ว = kaeo นอกจากจะคำนึงถึงการถ่ายทอดโดยวิธีถ่ายเสียงแล้วยังต้องคำนึงถึงความหมายของคำ การใช้เครื่องหมาย “-” เพื่อแยกพยางค์ การแยกคำ การใช้ตัวอักษรดรมันตัวใหญ่ การถอดเครื่องหมายต่างๆ การถอดคำย่อ และสุดท้ายคือการถอดตัวเลข ซึ่งแต่ละลักษณะการถ่ายทอดตัวอักษรแต่ละแบบจะไม่เหมือนกัน
                        สำหรับความหมายของคำจะกล่าวถึงไปยังหน่วยคำ คำ คำประสม คำสามานยนาม คำวิสามานยนาม คำนำหน้านาม คำทับศัพท์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องคำนึงถึงความหมายของคำ ต่อมาจะเป็นการใช้เครื่องหมาย “-” เพื่อแยกพยางค์ คือ ในกรณีที่มีคำวึ่งมีหลายพยางค์ อักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้ากับอักษรตัวแรกของพยางค์ตามมา อาจจะทำให้อ่านยาก หรืออ่านผิดได้ ให้ใช่เครื่องหมาย “-” เป็นตัวแยก โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ข้อแรกคือ เมื่ออักษรตัวสุดท้ายขิงพยางค์หน้าเป็นสระ และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ng () เช่น สง่า = Sa-nga ข้อที่สองคือเมื่ออักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้าเป็น ng () และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น บังอร =Bang-on ข้อสุดท้ายกล่าวคือ เมื่ออักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น สะอาด =sa-at
                        ต่อมาจะเป็นการกล่าวถึงการแยกคำซึ่งสามารถแยกได้ในกรณีชื่อเรียกเฉพาะ ยกเว้นคำประสมซึ่งถือว่าเป็นคำเดียวกัน และวิสามานยนามที่เป็นชื่อบุคคลให้เขียนติดกัน การใช้ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่จะใช้ในกรณีดังต่อไปนี้ ตัวอักษรแรกของชื่อและคำนำหน้านามที่อยู่หน้าคำวิสามานยนาม รวมทั้งในกรณีขึ้นต้นย่อหน้าอีกด้วย ต่อมาคือการถอดชื่อภูมิสาสตร์ให้ถอดตามเกณฑ์การถ่ายอักษรแบบเสียงโดยทับศัพท์เลย เช่นเดียวกับคำทับศัพท์  สำหรับการถอดเครื่องหมายต่างๆ ให้ถอดตามหลักการอ่านภาษาไทยได้เลย หากเป็น ไปยาลน้อย และไปยาลใหญ่ ให้ใช้ชื่อเต็มในการถอดแบบอักษร ต่อมาคือการถอดคำย่อให้ถอดตามหลักการอ่านแบบเต็มตามการอ่าน สำหรับคำย่อที่ยาวสามารถถอดแบบย่อและแบบเต็มได้ขึ้นอยู่กับผู้แปล แลการถอดตัวเลขก็จะถอดตามเสียงที่อ่านเช่นกัน
                        ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงมีความจำเป็นอย่างมากต่องานแปลที่ดีนั้นจะถือว่าเป็นการแปลที่มีความหมายใกล้เคียงกับงานต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะแปลงานชิ้นนั้นได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้แปลด้วย ซึ่งในการแปลจะมีการเทียบตัวอักษรระหว่างภาษาต้นฉบับไปยังภาษาฉบับงานแปลหรือที่เรียกว่าการแทนชื่อซึ่งการแทนชื่อในภาษานั้นจะเป็นการถ่ายทอดตัวอักษร การถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ หรือ ชื่อเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะไม่เข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสับสนต่อผู้อ่านได้








                                                            The Passive (1/02/2559) (กรรมวาจก)

                        จากการที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแปลขั้นสูงนั้นจำเป็นที่จะต้องอาศัยความแม่นยำและถูกต้องตามหลักโครงสร้างไวยากรณ์ ซึ่งการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษจะมีความยากมากกว่าการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เนื่องจากภาษาไทยนั้นจะมีการใช้คำและสำนวนที่มีความหลากหลายทางภาษามากกว่าภาษาอื่นๆ ซึ่งคำในภาษาไทยเมื่อนำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาที่ไพเราะส่วนมากจะเป็นการแปลโดยใช้ The passive หรือที่เรียกกันว่า กรรมวาจก เพราะว่าเมื่อใช้แล้วจะทำให้ความหมายมีความความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถอธิบายเรื่อง The passive อย่างละเอียดตามโครงสร้างหลักไวยากรณ์
            รูปแบบประโยคของ The passive นั้นมักจะมาจาก Active ซึ่งจะมีความแตกต่างกันนั่นคือ ในรูปแบบ active จะให้ความสำคัญกับประธาน (Subject) ในฐานะผู้กระทำกิริยาในประโยค ขณะที่รูปแบบของ The passive นั้นประธานของประโยคเป็นฝ่ายถูกกระทำ โดยจะมีโครงสร้างประโยคในแบบ active และ passive ดังนี้ Active; Subject + Verb + Object ส่วนของ The passive; object ในประโยค active + verb to be + verb (by + subject ในประโยค active) ส่วนในรูปของ Passive ของประโยคจะมี verb to be จะผันตาม Tense ของ Active จะมีความหมายคล้ายกับภาษาไทยว่า ถูก หรือ ได้รับ
           
ประโยคในรูปแบบ The passive นั้นจะใช้เมื่อมีกรณี ดังต่อไปนี้ ได้แก่ 1. เราไม่สามารถสื่อข้อความหรือความหมายออกมาในรูป active ได้อย่างชัดเจน 2. เราต้องการให้ความสำคัญกับประธาน Subject ของประโยคในฐานะผู้ถูกกระทำหรือรับผลจากการกระทำของกริยาที่มีอยู่ในประโยค 3. เราต้องการความหลากหลายในการใช้ภาษาอังกฤษ ต่อมาจะเป็นวิธีการเปลี่ยนประโยค active เป็น passive  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ดูส่วนประกอบในประโยค active คือต้องมีประธาน + กริยาที่ต้องการกรรม + กรรมและส่วนขยาย 2. ดูว่าประโยค active อยู่ใน Tense ใด 3. ย้ายกรรมในประโยค active มาเป็นประธานใน passive 4.เปลี่ยนรูปกริยาในประโยค active เป็น passive  คือมี verb to be ตามด้วย v3 เราจะใช้ verb to be ตัวใดให้สังเกตที่ประธานในประโยค passive และ tense ของประโยค แล้วใส่คำว่า by ในประโยค passive 6. นำส่วนขยายหรือ modifier มาใส่ไว้ท้ายประโยคในกรณีที่ประโยคนั้นมีส่วนขยาย
            ต่อมาจะกล่าวถึง การเปลี่ยนประโยค active ที่มี tense ต่างๆกัน ให้เป็นประโยค passive จะมีรูปแบบดังโครงสร้างประโยคต่อไปนี้
            John                  is helped                                   by Mary
            John                 is being helped                           by Mary
            John                  has been helped                         by Mary
            John                  was helped                                 by Mary
            John                  was being helped                        by Mary
            John                  had been helped                         by Mary
            John                  will be helped                            by Mary
            John                  is going to be helped                   by Mary
            John                  have been helped                        by Mary
ส่วนในกลุ่มของกริยาช่วยนั้นจาก active ไปเป็น passive จะมีดังต่อไปนี้ ในส่วนนี้คือ active กริยาช่วยจะ +V.1 (ไม่ผัน) แต่ในส่วนของ passive จะเป็นกริยาช่วย + be + V3 ทันที ส่วน adverb of frequency + กริยาช่วยตัวที่สอง + V3 ในประโยค Passive ให้วาง adverb of frequency  หลังกริยาช่วยตัวแรกเสมอ มาว่าจะเป็นกริยากี่ตัวก็ตาม และในส่วนของ adverb of manner ให้วางไว้หน้ากิริยาช่องที่ 3
            สุดท้ายนี้จึงสามารถสรุปได้ว่า ประโยคในรูปแบบ The passive นั้นจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีกรณี ดังต่อไปนี้ ได้แก่ 1. เราไม่สามารถสื่อข้อความหรือความหมายออกมาในรูป active ได้อย่างชัดเจน 2. เราต้องการให้ความสำคัญกับประธาน Subject ของประโยคในฐานะผู้ถูกกระทำหรือรับผลจากการกระทำของกริยาที่มีอยู่ในประโยค 3. เราต้องการความหลากหลายในการใช้ภาษาอังกฤษ ต่อมาจะเป็นวิธีการเปลี่ยนประโยค active เป็น passive ซึ่ง The passive นั้นเมื่อเลือกใช้ในภาษาอังกฤษได้นั้น จะทำให้ภาษาที่เกิดขึ้นในงานแปลนั้นจะเป็นภาษาที่สละสลวย ไพเราะ และง่ายต่อการอ่านแล้วเข้าใจง่ายและจะทำให้ความหมายมีความความชัดเจนมากยิ่งขึ้น



หลักการแปลวรรณกรรม (8/02/2559)
                        จากการที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานแปลทางบันเทิงคดีนั้นมีหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทนั้นจะมีหลักการแปลที่แตกต่างกันซึ่งจะปรากฏในหัวข้อที่ว่า หลักการแปลวรรณกรรม ซึ่ง คำว่า วรรณกรรม หมายถึงหนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะชีวิตร้อยแก้วหรือร้อยกรองไม่ว่าจะเป็นผลงานกวีโบราณหรือปัจจุบันซึ่งคงจะรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่าวรรณคดีด้วยตามปกติวรรณกรรมเป็นงานเขียนที่จัดไว้ในประเภท  บันเทิงคดี งานแปลทางบันเทิงคดีที่จะนำมากล่าวในที่นี้ได้แก่งานแปล นวนิยาย  เรื่องสั่น  นิทาน   นิยาย  บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นหวังว่าผู้อ่านจะได้รับความเพลิดเพลิน ความรู้ ความสนุกสนาน ดังนั้นการแปลวรรณกรรมที่สำคัญนั้นคือ การรักษาความหมายให้คงเดิมพร้อมทั้งรักษารสความหมายเดิม
            หลักการแปลนวนิยายจะมีหัวใจสำคัญคือการใช้ภาษาที่ไพเราะและถ้อยคำสำนวนสละสลวยไพเราะสอดคล้องกับต้นฉบับ โดยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ ได้แก่ การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม สำหรับการแปลชื่อเรื่องจะมีการแปลแบบไม่แปล แปลตรงตัว แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน ตั้งชื่อใหม่โดยการตีความหมายตามชื่อเรื่อง ซึ่งการแปลชื่อเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะมีความสำคัญต่อการแปลอย่างมากเนื่องจากการแปลชื่อเรื่องนั้นจะต้องเข้าใจง่ายเพื่อบอกคุณลักษณะของงานหรือเนื้อความของเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านสนใจและต้องการอ่านงานแปลชิ้นนั้น รวมทั้งติดตามผลงาน และสื่อความว่าผู้เขียนต้องการสื่อความว่าเช่นไรบ้าง
                       
ต่อมาจะกล่าวถึงการแปลบทสนทนาและการแปลบทบรรยายนั้นจะมีลักษณะที่คล้ายกันนั้นคือระดับของภาษาจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการแปลงานได้ ความยุ่งยากเกิดจากภาษาสองประเภทคือ ภาษาในสังคมและภาษาวรรณคดี สำหรับภาษาในสังคมนั้นแต่ละพื้นเมืองของสังคมจะมีการใช้ภาษาแตกต่างกัน ซึ่งหากภาษาในสังคมหนึ่งเป็นเรื่องที่น่าตลกขบขันแต่อีกสังคมหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ดังนั้นผู้แปลจะต้องคำนึงถึงหลักการแปลภาษาในสังคมนี้ด้วย สำหรับภาษาวรรณคดี คือภาษาที่ใช้เขียนในวรรณกรรมจะเป็นภาษาที่มีความไพเราะ มีสำนวนที่สละสลวยเป็นภาษาที่ถูกต้องทั้งในด้านของความหมายและด้านไวยากรณ์
            สำหรับขั้นตอนในการแปลวรรณกรรม มีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อแรกคืออ่านเรื่องราวให้เข้าใจตลอด สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่จะแปลได้ ย่อความเนื้อเรื่อง จับประเด็นของเรื่อง ทำแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครสำคัญในเรื่อง และพฤติกรรมที่มีความหมายมีความโยงใยต่อกัน ข้อสองคือ วิเคราะห์ถ้อยคำสำนวน ค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จักค้นหาความกระจ่างของข้อความที่ไม่เข้าใจ ค้นหาความกระจ่างด้านวัฒนธรรม สำหรับข้อสุดท้ายของขั้นตอนในการแปลวรรณกรรมคือ ลงมือแปลเป็นภาษาไทยด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบง่าย อ่านเข้าใจง่ายและชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
            หลักการแปลบทละครวิธีแปลบทละครดำเนินการแปลเช่นเดียวกับการแปลเรื่องสั้นนวนิยาย  นิทาน  นิยาย  คือเริ่มด้วยการอ่านต้นฉบับเพื่อทำความเข้าใจให้ตลอดตั่งแต่ต้นจนจบก่อน หาความหมายและคำแปลแล้วจึงเขียนบทแปลด้วยภาษาที่เหมาะสม โดยจะต้องอ่านหลายๆครั้งเพื่อความเข้าใจในเนื้อหาอย่างคร่าวๆว่า มีตัวละครอะไรบ้าง ดังคำว่าจะต้องทราบว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด อ่านต่อไปเพื่อค้นหาความหมายของคำและวลีที่ไม่รู้จักโดยใช้พจนานุกรมช่วยและหารความรู้จากแหล่งข้อมูลอื่นๆบ้างเพื่อความหลายหลายของภาษาในงานงานแปลบทละคร ซึ่งการแปลบทละครนั้นจะต้องบอกทุกองค์ประกอบของละคร เช่น คำบรรยายฉาก สถานที่ เวลา และการปรากฏตัวของตัวละครเพื่อความสมบูรณ์ของบทละคร
            หลักการแปลบทภาพยนตร์นั้นจะมีขั้นตอนกระบวนการเช่นเดียวกับการแปลบทละคร และการ์ตูน ซึ่งต้องอ่านและแปลโดยที่ข้อความ ภาพและฉากพร้อมกันโดยมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยมีสัมพันธภาพต่อกัน ซึ่งบทแปลภาพยนตร์นั้นมีวัตถุประสงค์หลักสำคัญอยู่ 2 ประการ ได้แก่ ข้อแรกนั้นคือ นำบทแปลไปพากย์ หรืออัดเสียงในฟิล์ม ผู้ฟังจะได้ยินเสียงเดิมของนักแสดงพูดภาษาไทย ข้อที่สองนั้นคือ นำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์มดั้งเดิม ผู้ฟังจะได้ยินสียงเดิมของนักแสดงและได้เห็นคำแปลพร้อมกัน ซึ่งการแปลบทภาพยนตร์นั้นจะมีลักษณะเหมือนกันกับการแปลบทละคร คือ ผู้แสดงมีจำนวนมาก มีบทสนทนาเยอะในบท ดังนั้นงานแปลจะออกมาดีได้นั้นจะต้องอาศัยความเข้าใจเนื้อความของบทภาพยนตร์
            หลักการแปลนิทานและนิยาย ซึ่งนิทานและนิยายส่วนมากจะมาจากการเล่าเป็นเรื่องในเชิงบรรยายและพรรณนา ไม่ใช้วิธีซับซ้อน จึงเรียนได้ว่า วรรณกรรมวรรณนา โดยนิทานและนิยายจะมีเรื่องข้อคิดเพื่อสอนศีลธรรมจรรยาเสมอ ซึ่งจะมีหลักการแปลดังนี้ อ่านครั้งแรกอ่านอย่างเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของนิทาน แล้วตรวจสอบความเข้าใจเนื้อเรื่องด้วยคำถาม 5 ข้อ ได้แก่ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม และอ่านครั้งต่อไปอย่างช้าๆและค้นหาความหมาย และคำแปล ทำรายการคำ และวลี ที่ไม่ทราบความหมาย เพื่อค้นหาความหมายในพจนานุกรมและแหล่งข้อมูลความรู้อื่นๆ เพื่อช่วยในการค้นหาความหมายของคำและสามารถกล่าวได้ว่าควรเลือกใช้ระดับภาษาสำนวนภาษา วิธีการเขียนให้เหมาะสมกับแต่ละเรื่องและบิริบทของนิทาน
                       
หลักการแปลเรื่องเล่าซึ่งเรื่องเล่ามักจะประกอบด้วยตัวละครสำคัญจำนวนน้อยราว 1-2 ตัว ซึ่งมีความสัมพันธ์กันตามความจำเป็น จะตัดตัวใดตัวหนึ่งออกไม่ได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระชั้นแบบรวดเดียวจบ เพื่อให้กระชับความ สำหรับหลักการแปลเรื่องเล่านั้นจะมีการดำเนินการแปลตามขั้นตอน เช่นเดียวกับการแปลวรรณกรรมประเภทอื่นๆโดยมีหลักการแปลดังนี้อ่านครั้งแรกอ่านอย่างเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของเรื่องเล่าโดยแบ่งเป็น 4 ตอน โดยตอบคำถาม ดังนี้ ตอนที่หนึ่ง ใคร ตอนที่สอง ใคร ทำอะไร ตอนที่สาม ใคร ทำอะไร  ตอนที่สี่ ทำอะไร และจะต้องมีปมอารมณ์ขัน และอ่านครั้งต่อไปอย่างช้าๆและค้นหาความหมาย และคำแปล ทำรายการคำ และวลี ที่ไม่ทราบความหมาย เพื่อค้นหาความหมายในพจนานุกรมและแหล่งข้อมูลความรู้อื่นๆ เพื่อช่วยในการค้นหาความหมายของคำและสามารถกล่าวได้ว่าควรเลือกใช้ระดับภาษาสำนวนภาษา วิธีการเขียนให้เหมาะสมกับแต่ละเรื่องและบิริบทของประเภทของเรื่องเล่า
            หลักการแปลการ์ตูน สำหรับวิธีการแปลการ์ตูนนั้นจะดำเนินการแปลตามขั้นตอนเช่นเดียวกับการแปลเรื่องเล่าคือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับให้เข้าใจโดยสังเกตรายละเอียดของภาพด้วย ต่อมานั้นจะเป็นการลงมือเขียนบทแปลโดยใช้ถ้อยคำสั้นๆ ที่สามารถนำมาบรรจุลงในกรอบคำพูดได้อย่างลงตัวพอดี โดยจะมีขั้นตอนการแปลดังต่อไปนี้ คืออ่านอย่างเร็วแล้วตอบคำถามของภาพ ดังนี้ ภาพที่หนึ่ง ใคร ทำอะไร ภาพที่สอง ใคร ทำอะไร ภาพที่สาม ใคร ทำอะไร ภาพที่สี่ ใคร ทำอะไร เช่นเดียวกันทั้งกันสี่ภาพ และจะต้องอ่านครั้งต่อไปอย่างช้าๆและค้นหาความหมาย และคำแปล ทำรายการคำ และวลี ที่ไม่ทราบความหมาย เพื่อค้นหาความหมายในพจนานุกรมและแหล่งข้อมูลความรู้อื่นๆ เพื่อช่วยในการค้นหาความหมายของคำและสามารถกล่าวได้ว่าควรเลือกใช้ระดับภาษาสำนวนภาษา
            หลักการแปลกวีนิพนธ์สำหรับกวีนิพนธ์นั้นจะมีความหมายเพื่อเล่าเรื่อง ให้ความรู้และสอนศีลธรรมพร้อมทั้งให้ความเพลิดเพลินอีกด้วย ซึ่งลักษณะของการแปลจะมี สองลักษณะ ลักษณะแรกคือ การแปลเป็นร้อยกรอง จะต้องแปลเนื้อหา พยายามเล่นคำ เล่นความหมายให้เหมือนกับต้นฉบับมากที่สุด ทุกบททุกตอน พร้อมทั้งจะต้องยึดรูปแบบของฉันทลักษณ์ด้วย หรือถ้าไม่สามารถยึดได้เพราะเกิดจากความแตกต่างของภาษา ก็จะต้องพยายามยึดฉันทลักษณ์ให้ใกล้เคียงมากที่สุด และอีกลักษณะของการแปลนั้นคือการแปลเป็นร้อยแก้ว เราจะแปลเป็นร้อยแก้วก็ต่อเมื่อมีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารความคิดและวัฒนธรรมอื่นๆในบทกวีนิพนธ์ ซึ่งปัญหาของการแปลด้านนี้คือความเข้าใจและการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวน ดังนั้นผู้แปลจะต้องเข้าใจและมุ่งเน้นความรู้สึกของกวีนิพนธ์ได้อย่างถูกต้องพร้อมทั้งใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับระดับของภาษาและสั้นกะทัดรัดให้ตรงตามรูปแบบของฉันทลักษณ์
            สุดท้ายนี้สามารถสรุปได้ว่า งานแปลวรรณกรรมนั้นมีถึง 9 ประเภทด้วยกันได้แก่ หลักการแปลนวนิยาย หลักการแปลบทบรรยาย หลักการแปลวรรณกรรม หลักการแปลบทละคร หลักการแปลเรื่องเล่า หลักการแปลบทภาพยนตร์ หลักการแปลการ์ตูน หลักการแปลกวีนิพนธ์ หลักการแปลนิทาน  หรืออาจจะมีมากกว่านี้อีก ซึ่งทุกหลักการแปลทุกประเภทจะมีลักษณะคล้ายกันคือ จะต้องอ่านหลายๆครั้งโดยอ่านให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไม และค้นหาความหมายจากหลายแหล่งข้อมูล พร้อมทั้งเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของงานแต่ละงานเขียน และคำนึงถึงข้องบังคับเฉพาะของแต่ละประเภทของงานแปลอีกด้วย เพื่อให้ได้งานแปลที่มีคุณภาพ ผู้อ่านอ่านแล้วสามารถได้รับประโยชน์ทางด้านเนื้อหาสาระและเกิดความเพลิดเพลินอีกด้วย


โครงสร้างพื้นฐานของประโยค (29/02/2559)
            จากการที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการแปลนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการแปลงานที่ดี แต่ยังมีอีกประเด็นที่สำคัญไม่แตกต่างกันเลยนั่นคือ โครงสร้างพื้นฐานของประโยค ซึ่งประโยคภาษาอังกฤษไม่ว่าจะสั้นหรือว่ายาวหรือมีความซับซ้อนอย่างไร สามารถกระจายออกเป็นรูปโครงสร้างพื้นฐานได้ทั้งนั้นเพื่อที่จะทำให้ประโยคเหล่านั้นถูกต้องตามหลักของ pragmatic อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย มีความหมายที่ชัดเจน มีใจความสมบูรณ์ มีภาษาที่สละสลวย ไม่ซับซ้อน ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานของประโยคจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการแปล ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานของประโยคนั้นสามารถแบ่งรูปแบบได้ถึง 25 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะของประโยคแตกต่างกันเช่นกัน
            สำหรับการแปลประโยคที่ซับซ้อนหรือที่เรียกกันว่าประโยคโครงสร้างลึกนั้น ถ้าแยกข้อความออกเป็นหน่วยประโยคที่สั้นและเล็กที่สุดตามลักษณะของประโยคโครงสร้างพื้นฐานแต่ละแบบแล้วนั้นจะช่วยให้เราวิเคราะห์ความหมายได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น ดังนั้น ฮอร์นบีและคณะได้แยกประโยคพื้นฐานไว้ใน The Advanced Learner’s Dictionary of Current English ไว้ 25 แบบ โดยจะยึดหลักตามหน้าที่และความนิยมใช้ในการใช้คำกริยาเป็นหลัก เรียกว่า กระสวนหรือแบบของคำกริยา (verb pattern) ส่วนไนดาและเทเบอร์ ได้แยกประโยคพื้นฐานของภาษาอังกฤษไว้ 7 แบบ ซี่งเรียกว่า ประโยคแก่น (Kernel sentence) และ สเตจเบอร์ก ( Stageberg) แยกประโยคพื้นฐานที่เรียกว่า ประโยคเปลือย (Bare sentence) ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นการยกตัวอย่างของโครงสร้างประโยคพื้นฐานของฮอร์นบีและไนดา ดังรูปภาพดังต่อไปนี้
ดังนั้นสามารถสรุป โครงสร้างพื้นฐานของประโยค ได้ว่าสำหรับประโยคภาษาอังกฤษไม่ว่าจะสั้นหรือว่ายาวหรือมีความซับซ้อนอย่างไร สามารถกระจายออกเป็นรูปโครงสร้างพื้นฐานนั้นสามารถแบ่งรูปแบบได้ถึง 25 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะของประโยคแตกต่างกันเช่นกัน
ทั้งนั้นเพื่อที่จะทำให้ประโยคเหล่านั้นถูกต้องตามหลักของ pragmatic อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย มีความหมายที่ชัดเจน มีใจความสมบูรณ์ มีภาษาที่สละสลวย ไม่ซับซ้อน ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานของประโยคจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการแปลเป็นการแปลที่มีขั้นตอนอย่างชัดเจนในเรื่องของลำดับคำและหน้าที่ในประโยคเพื่อให้ได้งานแปลที่มีคุณภาพ









Model 1 Relations between ideas (29/02/2559)
 จากการที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียน (Writing) หรืองานเขียนทุกประเภทนั้นจะมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ขึ้นอยู่กับชนิดของงานเขียนชนิดนั้น ซึ่งงานเขียนแต่ละประเภทก็จะมีจุดประสงค์ของงานเขียนแตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นต่องานเขียนนั่นคือกลวิธีหรือลำดับขั้นตอนของการเขียนเพื่อให้เขียนออกมาแล้วมีจุดประสงค์ของงานเขียนที่ชัดเจน เข้าใจงานเขียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง  Ideas แนวความคิดดัง  Model ดังต่อไปนี้
****
(                                           )  = The main idea มีการเชื่อมความสัมพันธ์กับ Title
                                                                                                                                         ในส่วนของ main idea
(                                            ) = แต่ละ main idea เชื่อมกับ supporting ideas
            จากโมเดลข้างต้นนี้สามารถสรุปใจความได้ว่า ส่วนที่กว้างครอบคลุมคือ Topic ซึ่งจะเป็นส่วนที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ส่วนความสัมพันธ์ต่อมาคือ Title นั้นจะมีองค์ประกอบไปในส่วนรายละเอียดของเนื้อหาซึ่งเนื้อหานั้นจะต้องสัมพันธ์กับชื่อเรื่อง เนื้อหาส่วนนี้คือ Thesis statement ซึ่ง Thesis statement จะต้องมี main idea ซึ่งจะต้องมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับ Supporting Idea ซึ่งในส่วนของ Supporting Idea จะมี Supporting Idea  เพื่อเป็นเนื้อหาสนับสนุน main idea ซึ่ง Supporting Idea จะเป็นการให้รายละเอียดอธิบาย ยกตัวอย่างและสนับสนุนเพื่อเสริมความชัดเจนของ main idea เพื่อให้มีความหมายและเนื้อหาชัดเจนพร้อมทั้งถูกต้องอีกด้วย
ชนิดของงานเขียน  (Text Types)  (14/03/2559)
            จากการที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชนิดของงานเขียนนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละชนิดของงานเขียนนั้นจะมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน ซึ่งการเขียนนั้นเป็นการแสดงความคิด ความรู้สึก ความรู้ ให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจในเจตนาของผู้เขียน ถึงแม้ว่างานเขียนจะมีหลายประเภทแต่จุดประสงค์ที่ชนิดงานเขียนทุกประเภทมีจุดมุ่งหมายและลักษณะเหมือกันนั้นคือ ชัดเจน ผู้เขียนต้องเลือกใช้คำที่มีความหมายเด่นชัด อ่านเข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ ถูกต้อง ในการเขียนต้องคำนึงถึงความถูกต้องทั้งในด้านการใช้ภาษา ความนิยมและเหมาะสมกับกาลเทศะ ในส่วนของเนื้อหานั้นจะต้องกะทัดรัด ท่วงทำนองการเขียนจะต้องมีลักษณะใช้ถ้อยคำน้อยแต่ได้ความหมายชัดเจน มีน้ำหนัก งานเขียนที่ดีต้องมีลักษณะเร้าความสนใจ สร้างความประทับใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการเน้นคา การเรียงลำดับคำในประโยค การใช้ภาพพจน์ มีความเรียบง่าย งานเขียนที่ใช้คำธรรมดาที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ไม่เขียนอย่างวกวน ไม่ใช้คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ จะมีผลทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและเกิดความรู้สึกกับงานเขียนนั้นได้ง่าย
            รูปแบบการเขียน หมายถึง วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบนั้นๆ ซึ่งรูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียนนั้นเช่นกัน  ในการเขียนผู้เขียนจะตั้งจุดประสงค์เพื่อให้   การเขียนมีขอบเขตและง่ายต่อการเขียน ซึ่งขึ้นอยู่กับเจตนาหรือความต้องการของผู้เขียนที่จะเสนอเรื่องประเภทใดและอย่างไร โดยทั่วไปจุดประสงค์ในการเขียนได้แก่ เพื่อเล่าเรื่องจากประสบการณ์ เพื่อจดบันทึกจากการฟังและการอ่าน เพื่อโฆษณาหรือชักจูงใจ เพื่อแสดงความคิดเห็นและแนะนำสั่งสอน เพื่ออธิบายให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เพื่อสร้างจินตนาการหรือให้เกิดความบันเทิง
           


การเขียนแบบบรรยาย ( Descriptive writing) ในการเขียนเรียงความเชิงพรรณนา จะต้องถ่ายทอดให้เห็นเสมือนได้สัมผัส มองเห็น ได้กลิ่นการได้ยินหรือได้รสชาติ ถ่ายทอดความรู้สึกให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ สัมผัสได้และเพื่อให้ข้อมูลเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้อ่าน การตอบคำถามใคร อะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน และทำไม เป็นการนำเสนอให้เห็นว่าหัวข้อแต่ละอย่างมีความแตกต่างกันเช่นไร ควรให้ผู้อ่านได้ใช้ความรู้สึกและประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องราวที่เล่า หัวข้อของเราต้องสร้างโดยใช้ความหมายและเรื่องราวที่แตกต่าง ใช้ข้อมูลเป็นตัวช่วยในการอธิบายและวิเคราะห์งานเขียนเชิงบรรยายของเรา
            การเขียนเล่าเรื่อง ( Narrative writing) เป็นข้อเขียนที่เล่าเรื่องราวที่เป็นจริงหรือแต่งขึ้น ประกอบด้วย การเล่าเรื่องชีวประวัติ ของบุคคลต่างๆ เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญของชีวิตบุคคล การเล่าเรื่องที่เป็นบันเทิงคดี (Fictional narrative) เป็นการเล่าเรื่องที่ผู้เขียนแต่งขึ้น และการเล่าเรื่องส่วนบุคคล  (Personal narrative)  เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญในชีวิตของผู้เขียน งานเขียนอธิบาย (Expository) เป็นข้อเขียนที่อธิบายหรือบอกถึงสารสนเทศ ประกอบด้วย เรียงความเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง (Compare-contrast essay) เป็นข้อเขียนที่แสดงถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างสิ่งสองสิ่ง 
            งานเขียนที่เป็นสารสนเทศ (Information report) เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศตามลำดับที่เป็นเหตุผลเป็นการรายงานข้อมูล จะระวังในเรื่องของการวางแผนดำเนินเรื่อง แต่ละเนื้อหาจะเชื่อโยงกันเป็นพารากราฟ ใช้ present tense ในการแต่งประโยค โทนของเรื่องจะกล่าวถึงบุคคลที่สาม และจะสรุปใจความสำคัญไว้ในประโยคสุดท้าย Explanation เป็นงานเขียนชนิดที่มีลักษณะคือเป็นการอธิบายแผนภูมิ ตาราง ใช้ ใช้ present tense ในการแต่งประโยค  มี คำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการอธิบาย มีเหตุและผลสอดคล้องกัน การเขียนโน้มน้าว (Persuasive) เป็นข้อเขียนที่นำเสนอความคิดเห็นของผู้เขียนและพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นด้วย ประกอบด้วย เรียงความที่เป็นความคิดเห็น (personal response) เป็นข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็น ทรรศนะ หรือความเชื่อของผู้เขียนที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริง เรียงความที่กล่าวถึงปัญหาและการแก้ไข (Problem-solution) เป็นข้อเขียนที่กล่าวถึงปัญหาและโน้มน้าวผู้อ่านให้เชื่อว่า วิธีการแก้ปัญหาของผู้เขียนสามารถแก้ปัญหาได้ เรียงความที่กล่าวถึงการสนับสนุนและการคัดค้าน (Pro-con essay) เป็นข้อเขียนที่ประเมินข้อดี ข้อเสียของความคิดหรือสถานการณ์ ชนิดงานงานเขียนเกี่ยวกับวิธีการ (procedure) เป็นข้อเขียนที่บอกผู้อ่านถึงวิธีการทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีขั้นตอนและหลักปฏิบัติ
            ต่อไปจะเป็นงานเขียนประเภทที่มีรูปแบบกำหนด หรือที่เรียนกันว่า Teat types with specific formats จะมีงานเขียนประเภทดังต่อไปนี้ the personal letter จดหมายส่วนตัว เป็นจดหมายส่วนตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อส่งต่อให้อีกคนหนึ่ง งานเขียนชนิดนี้จะต้องมีความชัดเจนทางด้านเนื้อหา พร้อมทั้งชัดเจนทางด้านรูปแบบของจดหมาย  the envelope จดหมายธุรกิจ the formal letter จดหมายเฉพาะกิจเป็นจดหมายที่รูปแบบต้องชัดเจน มีคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป และคำจบท้ายอย่างชัดเจน letter to the editor งานเขียนประเภทนี้จะเป็นงานเขียนที่ใช้เยอะ จะแสดงมุมมองสำคัญอย่างชัดเจน เขียนอย่างมีความสัมพันธ์กัน postcards การเขียนโปสการ์ด เขียนเพื่อสรุป เชื่อความสัมพันธ์ มิตรภาพอย่างไม่เป็นทางการระหว่างบุคคล ใช้มากในวันหยุด จะต้องมีวันที่ สถานที่ ความเชื่อโยงของเนื้อหาสัมพันธ์และชัดเจน invitations เป็นจดหมายเชิญ จะต้องชัดเจนในเรื่องของ วัน เวลา สถานที่ ที่อยู่ติดต่อ
            diary extract เป็นการเขียนประสบการณ์ของแต่ละบุคคล แสดงความคิดเห็นรวมทั้งอารมณ์ ความรู้สึก interviews  เป็นการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลบางอย่างที่ต้องการพร้อมทั้งจดบันทึกอย่างละเอียด  script writing เป็นการเขียนสคริปต์งานต่างๆ จะต้องมีการเขียนที่คำนึกถึงระดับภาษาอีกด้วยพร้อมทั้งเวลา สถานที่ ตัวละคร รวมถึงพล็อตของเรื่องอีกด้วย feature article บทความสารคดีจะเป็นการเขียนระดับทางการหมายของผู้เขียนอีกด้วยและโทนของเรื่องจะต้องตอบสอนงต่อจุดมุ่งหมายของผู้เขียนอีกด้วย editorial บทวิพากษ์วิจารณ์จะเขียนโดยใช้ระดับภาษาของผู้เขียน มีหลากหลายประโยค มีจำนวนคำพอดีกับเนื้อหา มีคำนำ เนื้อหา และสรุปและจะมี linking word เพื่อบอกลำดับขั้นตอนของเนื้อหา  pamphlet แผ่นปลิว จะเป็นการสรุปของเนื้อหาที่ต้องการเผยแพร่โดยจะสั้นกะทัดรัดและได้ใจความสำคัญของเรื่อง advertising  โฆษณาสำหรับการเขียนโฆษณานั้นจะต้องน่าสนใจ อธิบายสิ่งที่ต้องการสื่ออย่างชัดเจนมีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อถึง E-mail FAX SMS ทั้งสามอย่างนี้จะเป็นช่องทางการสื่อสารที่เป็นช่องทางการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์
           
งานเขียนประเภทกลอนหรือกวี (Poetry writing) สามารถแบ่งลักษณะของประเภทกวีหรือกลอนได้ดังต่อไปนี้ The word poem จะเป็นการที่หนึ่งคำและสร้างเพิ่มจำนวนคำขึ้นไปเรื่อยๆ จากหนึ่งไปสองคำ จากสองคำไปยังสามคำ เป็นอีกหลายคำ the syllable poem จะเป็นการนับพยางค์แล้วนำพยางค์ของคำมาเว้นช่วงจังหวะให้ไพเราะ HaIku จะมีลักษณะพิเศษของกวีนั้นคือจะนับพยางค์ของแต่ละบรรทัดโดยจะใช้พยางค์แต่ละบรรทัดดังนี้คือ 5 ; 7; 5  The shape poem เป็นการใช้คำที่ทำให้มองเห็นภาพ สามารถจินตนาการตามได้และเข้าถึงอารมณ์ได้ Rhyming poetry เป็นจังหวะหรือช่วงทำนองของกลอนหรือกวีนั้นๆเพื่อเพิ่มความไพเราะของงานกวี The limerick Conversion of prose into poetry เป็นกวีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ขันซึ่งกวีจะมี5 บรรทัดซึ่งแต่ล่ะ 5บรรทัดนั้นทุกบรรทัดจะต้องมีคำที่บ่งบอกหรือทำให้เกิดอารมณ์ขันได้
            การวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียน (Response to literature) เป็นข้อเขียนที่กล่าวถึง  การสำรวจตรวจสอบเกี่ยวกับแก่นของเรื่อง (Theme) โครงเรื่อง (Plot) ตัวละครและด้านอื่นๆของบทในหนังสือ หนังสือทั้งเล่มหรือเรื่องที่อ่าน รวมทั้งคำประพันธ์ประกอบร้อยกรอง ประกอบด้วย การบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับตัวละครเป็นข้อเขียนที่เน้น การบรรยายถึงตัวละครสำคัญๆ การสรุปโครงเรื่อง (Plot summary) เป็นข้อเขียนที่บอกให้ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้น ในเรื่องการวิเคราะห์แก่นของเรื่อง (Theme analysis) เป็นข้อเขียนที่เน้นถึงสาระเกี่ยวกับชีวิตที่ผู้เขียนเสนอในเรื่อง และการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า (Research) เป็นข้อเขียนที่นำเสนอสารสนเทศ         
            ดังนั้นจะสังเกตได้ว่ารูปแบบการเขียนต่างๆมีความแตกต่างกัน โดยจุดประสงค์ในแต่ละประเภทก็ย่อมมีความแตกต่างเช่นกัน การเขียนตามรูปแบบการเขียนที่หลากหลายมีลักษณะแตกต่างกันไป บ้างก็เพื่อเล่าเรื่อง บอกเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์ เช่น เล่าประวัติ เล่าเหตุการณ์ เล่าประสบการณ์ชีวิต เล่าเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ บันทึกเหตุการณ์ บันทึกประจำวัน เพื่อแสดงความคิดเห็น เพื่ออธิบายให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เขียนวิเคราะห์ข่าว วิจารณ์ตัวละคร/บทละคร/บทความ และเพื่อการโฆษณา ชักจูงใจ เชิญชวน และประกาศแจ้งความ เช่น โฆษณาสินค้า โฆษณาหาเสียง  คำอวยพร บัตรเชิญในโอกาสต่างๆ ประกาศของทางราชการ ผู้แปลจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการเขียนรูปแบบต่างๆเพื่อให้งานแปลเกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
           
ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ (14/03/2559)
                        จากการที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการงานแปลที่ดีจำเป็นต้องเขียนด้วย ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นมีความหมายว่า ภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยและผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล อ่านแล้วเข้าใจ ความหมายของภาษายังคงความหมายเดิม ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญที่นักแปลต้องพิจารณาในการเขียนบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบย่อยของการแปล ได้แก่ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร
                        คำและความหมาย ซึ่งคำบางคำมีความหมายแตกต่างกันอย่างหลากหลายความหมายคำหนึ่งคำมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝงหรือความหมายเปรียบเทียบ ซึ่งหากต้องการเข้าใจความหมายอย่างชัดเจน จำเป็นต้องดูจากบริบทรอบๆด้วย เช่น แสบ ความหมายตรงคือ อาการเจ็บบาดแผลที่ถูกน้ำเกลือราด ส่วนความหมายแฝงคือ ตัวแสบ มีความหมายว่า ผู้ที่นำความยุ่งยากทุกข์ร้อนมาสู่และคำบางคำที่มีความแตกต่างกนไปตามยุคสมัย ในอดีตมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันแตกต่างไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่าง คำว่า กุ เดิมเป็นคำสามัญที่ใช้พูดจากันทั่วไป แต่ปัจจุบันเป็นคำหยาบ บางครั้งในการพูดหรือการเขียนที่ต้องการแสดงอารมณ์ อาจจะนำคำที่มีความหมายไม่ใช่ให้เกิดความหมายที่ดีขึ้นได้ เช่น ใจดีเป็นบ้า มีความหมายว่า ใจดีมาก นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบย่อยอื่นคือ การสร้างคำ ที่จะทำให้เราเข้าใจความหมายของภาษามากยิ่งขึ้น
                       
การสร้างคำกริยาเป็นเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกริยา ซึ่งบางคนอาจจะเห็นว่าทำให้ภาษายุ่งยาก อย่างไรก็ตามบางครั้งก็ชัดเจนขึ้น ถ้าเราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมัน คำกริยาส่วนมากที่จะนำมาเสริมท้ายนั้น ได้แก่ ขึ้น ลง ไป มา ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วจะไม่มีความหมายเดิมเหลืออยู่เลย แต่กลายเป็นคำบอกปริมาณและทิศทาง ยกตัวอย่างเช่น ทำขึ้น ช้าลง จากไป กลับมา ซึ่งมาการนำคำ ไป มา ขึ้น ลง มาคู่กัน จะหมายความว่าการทำซ้ำๆ บ่อยๆ เช่น เดินไปเดินมา และนอกจากนี้ยังมีการเข้าคู่คำ คือการนำหลายคำมาคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่โดยมีความหมายใหม่หรือมีความหมายเดิม ยกตัวอย่างเช่น คู่คำพ้องความหมายจะเป็นคำในภาษาเดียวกัน หรือคำต่างประเทศ หรือคำภาษาถิ่นก็ได้ ส่วนมากความหมายจะคงเดิม เช่น ทรัพย์สิน เสื่อสาด
                        ต่อไปจะกล่าวในเรื่องของสำนวนโวหาร ในการแปลขั้นสูงนั้นผู้แปลจะต้องรู้จักสำนวนการเขียน ซึ่งมีการใช้สำนวนโวหารหลายๆประเภท ซึ่งสำนวนไทยมักจะถูกละเลยหลงลืมจนกลายเป็นสิ่งเข้าใจยากสำหรับคนไทย ดังนี้ สำนวนประกอบด้วยคำว่า ให้  ให้ ในสำนวนเช่นนี้ไม่มีความหมายเหมือนเมื่อเป็นกริยาสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น ให้เขาไปเถอะ ให้ในที่นี้แปลว่า อนุญาต แต่มีความหมายอย่างอื่นดังต่อไปนี้ ได้แก่ จนกระทั่ง เช่นในสำนวนว่า รับประทานให้หมด ฟังให้จบ ดูให้ทั่ว อีกความหมายหนึ่ง กับแก่ คำที่ตามหลัง ให้ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง เช่น พ่อค้าขายของให้ลูกค้า คุณพ่อซื้อของขวัญให้ลูก ความหมายสุดท้าย เพื่อที่จะให้เป็นส่วนหนึ่งของวลีที่ทำหน้าที่ขยายกริยา ในกรณีเช่นนี้ ให้ จะวางอยู่ข้างหน้าคำคุณศัพท์ เช่น แต่งตัวให้สบาย เรียนให้เก่ง ดูให้ดี เดินให้เรียบร้อย พูดให้ชัด
                       

สำนวนที่มีคำซ้ำ ในที่นี้หมายถึงทั้งคำเดียวซ้ำกัน (ซ้ำรูป) และคำที่มีความหมายเหมือนกัน (ซ้ำความหมาย) การใช้คำซ้ำมีทั้งดีและเสียปนกันประดุจดาบสองคม ถ้าผู้เขียนไม่ระมัดระวังจริงๆทั้งๆที่ตั้งใจจะให้ดีก็อาจกลายเป็นเสียไปได้ ส่วนดีของการใช้คำซ้ำ คือ เพื่อความไพเราะ คำสั้นๆ และเสียงหนถ้ามีการซ้ำรูปจะทำให้สียงทอดยาว อ่อนสลวย ไม่ฟังดูห้วน เพื่อให้ความหมายอ่อนลง เช่น พูดดีๆ นั่งเฉยๆ มักจะใช้กับประโยคคำสั่งเพื่อคลายความบังคับลงให้กลายเป็นขอร้อง บางครั้งการใช้คำซ้ำในกรณีเช่นนี้แสดงความไม่หนักแน่น ไม่แน่ใจ ไม่ปักใจ เพื่อให้ได้คำใหม่ๆใช้ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อแสดงว่ามีจำนวนมา ปริมาณมาก หรือเป้นพหูพจน์ ยกตัวอย่างสำนวนที่ดี เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า บ้านช่องห้องหอ อาคารบ้านเรือน ห้อยโหนโยนตัว เป็นต้น
            ต่อมาจะกล่าวถึงในส่วนของโวหารภาพพจน์ เพราะนักเขียนหรือกวีมักจะสร้างภาพพจน์อย่างกว้างขวางสลับซับซ้อน ถ้าผู้อ่านมีความรู้ด้านนี้น้อยก็จะอ่านงานเขียนไม่เข้าใจ ดังนั้น เราควรศึกษาแนวคิดในการใช้โวหารภาพพจน์ ซึ่งทั้งผู้เขียนทั้งเก่าและใหม่ทุกชาติ ทุกภาษาใช้ร่วมกัน ดังนี้ โวหารอุปมา (Simele) เป็นการสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการชี้แจงอธิบาย โวหารต่อมาคือ โวหารอุปลักษณ์ (Metaphor) เป็นการเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนกับไม่เหมือนมาเปรียบเทียบ โวหารเย้ยหยัน (Irony) คือการใช้ภาษาด้วยอารมณ์ขันเพื่อการเย้ยหยันเหน็บแนม โวหารขัดแย้ง (Contrast or Antithesis) คือการใช้คำที่มีความหมายตรงข้ามกันเรียงต่อกันโดยรักษาสมดุลไว้ โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด (Metonymy) โดยการนำคุณสมบัติสิ่งหนึ่งมาแทนทั้งหมด โวหารบุคลาธิษฐาน (Personification) คือการนำสิ่งต่างๆที่ไม่มีชีวิตรวมทั้งความคิด การกระทำและนามธรรม โวหารที่กล่าวเกินจริง (Hyperbole) โวหารเช่นนี้มีจุดประสงค์ที่จะเน้นให้เห็นความสำคัญ ชี้ให้ชัดเจนและชัดเจนมากขึ้น
            ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่าในส่วนของลักษณะที่ดีของโวหาร ในหนังสือที่แต่งดีนั้น มักจะประกอบด้วยสำนวนโวหารที่มีลักษณะที่ดีดังต่อไปนี้ ถูกต้องตามหลักภาษานั่นคือการไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์ ถึงแม้จะพลิกแพลงบ้างแต่จะคงความหมายเดิมอยู่ ไม่กำกวม สำนวนโวหารที่ดีจะชัดเจน แม่นยำ มีความชัดเจนต่อมาคือ มีชีวิตชีวาคล้ายๆกับคำว่า ภาษามีชีวิต สามารถดิ้นได้ ชวนให้ผู้อ่านรู้สึกกระตือรือร้น มีความรู้สึกอยากอ่านต่อ และลักษณะที่ดีของโวหารข้อสุดท้าย คือ น่าเชื่อถือ มีเหตุผลรอบคอบ ไม่มีอคติ ไม่สร้างความสับสนให้ผู้อ่าน และเกิดความประทับใจในการอ่านเรื่องนั้นๆอีกข้อของลักษณะที่ดีของโวหาร คือ คมคายเฉียบแหลม นั่นคือการใช้คำพูดที่เข้มข้น หนักแน่น แต่แฝงข้อคิดที่ฉลาด สามารถนำมาเตือนสติได้









การถ่ายทอดตัวอักษรTransliteration)(21/03/2559)
            จากการที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานแปลที่ดีนั้นจะถือว่าเป็นการแปลที่มี
ความหมายใกล้เคียงกับงานต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะแปลงานชิ้นนั้นได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้แปลด้วย ซึ่งในการแปลจะมีการเทียบตัวอักษรระหว่างภาษาต้นฉบับไปยังภาษาฉบับงานแปลหรือที่เรียกว่าการแทนชื่อซึ่งการแทนชื่อในภาษานั้นจะเป็นการถ่ายทอดตัวอักษร การถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ หรือ ชื่อเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะไม่เข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสับสนต่อผู้อ่านได้
            การถ่ายทอดตัวอักษรเป็นการนำคำในภาษาหนึ่งแปลงเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดทางเสียงหรือการอ่านออกเสียงคำนั้นๆ เพื่อให้มีความหมายเดิมมากที่สุดเพื่อคุณภาพของงงานแปลที่ดี ซึ่งการถ่ายถอดตัวอักษรจะมีกรณีของการถ่ายทอดตัวอกษรตามกฎดังกล่าวต่อไปนี้ ข้อแรกนั่นคือ เมื่อเป็นภาษาที่เป็นชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น ชื่อคน ชื่อสัตว์ ชื่อแม่น้ำ ชื่อภูเขา หรือแม้แต่ชื่อสถาบันต่างๆ  ส่วนข้อที่สองคือ เมื่อคำในภาษาต้นฉบับไม่สามารถนำไปเทียบเคียงกับอีกภาษาหนึ่งได้ ซึ่งกล่าวได้คือ อีกภาษาหนึ่งไม่มีภาษาเทียบเคียงให้ (equivalent word) เช่น คำที่ใช้เรียกต้นไม้ สัตว์ หรือกิจกรรมบอกชนิดที่ไม่การบัญญัติ ในกรณีเช่นนี้สามารถแก้ไข ได้สองวิธีคือ ใช้วิธีการให้คำนิยามและใช้ทับศัพท์
           
สำหรับหลักการถ่ายทอดตัวอักษรของงานต้นฉบับจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งจะยึดหลักปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียงของคำนั้น โดยจะมีการยึดหลักดังต่อไปนี้ ข้อแรกคือ ให้อ่านคำนั้นเพื่อให้รู้ว่าออกเสียงอย่างไร ประกอบด้วยเสียง (phone) อะไรบ้าง แล้วหาตัวอักษรในภาษาฉบับแปลที่มีเสียงใกล้เคียงกันมาเขียนแทนเสียงนั้นๆได้ ข้อที่สองนั่นคือ ภาษาทุกภาษาจะมีเสียงพยัญชนะและเสียงสระตรงกันส่วนมาก ดังนั้นผู้แปลจะต้องเทียบเคียงเสียงสระคำนั้น เช่น แทนเสียงแรกในคำว่าว่า “paul” เป็นต้น แต่จะมีเสียงจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นหนึ่งตัวอักษรหรือสองตัวอักษรซึ่งมาสามารเทียบเสียงได้เลย ดังนั้นผู้แปลจำเป็นต้องหาเสียงที่ใกล้เคียงที่สุด ประเด็นต่อมาคือหากใช้หลักการถ่ายทอดเสียงแบบใดแล้วจะต้องใช้ตลอดเรื่องงานแปลชิ้นนั้น และประเด็นสุดท้ายกล่าวคือ สำหรับการยืมคำศัพท์มาเขียนในฉบับแปล ถ้าคำนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายให้วงเล็บคำเดิมไว้ในต้นฉบับไว้ด้วย
            ต่อมาจะเป็นบัญชีซึ่งจะมีไว้เพื่อสำหรับผู้แปลระหว่างภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการถ่ายทอดตัวอักษรจะกล่าวเป็นตัวอย่างต่อไปนี้จะมีด้วยกัน สองบัญชี คือ บัญชีที่หนึ่ง และบัญชีที่สอง บัญชีที่หนึ่งจะกล่าวถึงการถ่ายทอดจากภาษไทยเป็นภาษาอังกฤษ ในช่องแรกเป็นตัวอักษรไทย ส่วนเสียงของตัวอักษรนั้นแสดงไว้ด้วยสัญลักษณ์ทางสัทศาสตร์ (phonetic symbols) ใน [ ] ในช่องที่สองเป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษ และช่อง ถัดไปเป็นตัวอย่าง


บัญชีที่สอง สำหรับการถ่ายทอดชื่อภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย การดูให้ดูแบบเดียวกับบัญชีที่หนึ่ง กล่าวคือ ช่องที่หนึ่ง เป็นเสียง ช่องต่อไปคือ ตัวอักษรไทยที่ใช้แทน และช่องที่สามนั้นคือตัวอย่าง
ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า การถ่ายทอดตัวอักษรเป็นการนำคำในภาษาหนึ่งแปลงเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดทางเสียงหรือการอ่านออกเสียงคำนั้นๆ เพื่อให้มีความหมายเดิมมากที่สุดเพื่อคุณภาพของงงานแปลที่ดี ผู้อ่านสามารถอ่านแล้วเข้าใจเนื้อหาและความหมายของคำนั้นได้อย่างถูกต้องตามต้นฉบับงานแปล









การแปลบันเทิงคดี (25/04/2559)
(The Translation of Literary Work)
            จากการเรียนในห้องเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแปลงานแปลบันเทิงคดีนั้นเป็นการแปลงานเขียนทุกประเภทที่ไม่จัดให้อยู่ในงานประเภทวิชาการและสารคดี ทั้งนี้หมายถึงงานเขียนประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองอีกด้วย บันเทิงคดี มีหลายรูปแบบได้แก่ นิทาน นวนิยาย เรื่องสั้น บทเพลง บทกวี ซึ่งการแปลบันเทิงคดีเป็นงานเขียนที่แตกต่างจากงานเขียนชนิดอื่น ดังนั้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างทั้งองค์ประกอบทางเนื้อหาและภาษาและองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษาเพื่อให้งานแปลบันเทิงคดีเป็นงานแปลที่มีเนื้อหาครบถ้วนและมีภาษา สำนวนที่สละสลวย ถ่ายทอดความรู้สึกของงานสื่อถึงผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครบถ้วนทุกรสชาติและอารมณ์
            องค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา (non-language element) เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการแปลงานบันเทิงคดี โดยจะเป็นองค์ประกอบที่เน้นไปในเรื่องของอารมณ์และท้วงทำนองของงาน องค์ประกอบทางด้านอารมณ์และท่วงทำนองจะสะท้อนออกในองค์ประกอบของภาษา ดังนั้นองค์ประกอบด้านภาษาจึงเป็นประเด็นที่ผู้แลจะต้องให้ความใส่ใจอย่างยิ่งในการแปลงานบันเทิงคดี และจะต้องคำนึงถึงการทอดถอดความรู้สึกให้สอดคล้องกับองค์ประกอบที่ด้านเนื้อหาและภาษาเพื่อที่จะทำให้งานแปลบันเทิงคดีนั้นมีคุณภาพและมีความหมายพร้อมทั้งความรู้สึกที่ถ่ายทอดออกมาตรงกับต้นฉบับของงานแปลบันเทิงคดีอีกด้วย
            องค์ประกอบทางด้านเนื้อหาและภาษา องค์ประกอบด้านนี้นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับการแลงานบันเทิงคดีซึ่งแบ่งแยกออกเป็น สามกลุ่ม ซึ่งได้แก่ การใช้สรรพนามและคำเรียกบุคคล (Form of address) การใช้ความหมายแฝง (connotation) และภาษาเฉพาะวรรณกรรม (Figurative language) เรากำลังศึกษาและฝึกหัดแปลต้นฉบับไทยเป็นฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคำที่ใช้เรียกบุคคลนั้นไม่ค่อยหลากหลายและยุ่งยากเหมือนภาษาไทย ดังนั้นต่อไปนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของการใช้ภาษาที่มีความหมายแฝงและภาษาเฉพาะวรรณกรรมเท่านั้น โดยจะไม่กล่าวถึงการใช้คำเรียกบุคคล
            ภาษาที่มีความหมายแฝง (Connotation) คำศัพท์ในภาษาใดๆประกอบด้วยคำที่มีความหมายตรงตัวและความแฝง เช่น คำศัพท์คำว่า chicken  ความหมายตรงตัว ไก่ ความหมายแฝง ขี้ขลาดตาขาว ในการแปลงานบันเทิงคดี ผู้แปลจะต้องให้ความใส่ใจต่อคำศัพท์ทุกตัว จะต้องพิจารณาหาความหมายอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้องตามบริบท เพื่อป้องกันความผิดพลาดนั้น ผู้แปลควรอ่านต้นฉบับจำนวนหนึ่งครั้งโดยอ่านอย่างเข้าใจเนื้อหา ถ้าหากไม่เข้าใจความหมายคำแฝงหรือสำนวนไหน ให้เขียนเส้นใต้หรือทำเครื่องหมายเอาไว้ แล้วค่อยหาความหมายหลังจากอ่านเสร็จทั้งเรื่อง นอกจากนี้นั้นผู้แปลควรจะใช้ทั้งพจนานุกรมสองภาษาและภาษาเดียว รวมทั้งค้นคว้าหาความหมายจากแหล่งข้อมูลอื่นด้วย เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนตรงตามบริบท
            ภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์ ภาษากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มภาษาที่มีลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ การสะท้อนวัฒนธรรมด้านต่างๆลงไปในตัวภาษา ได้แก่ วัฒนธรรมการกินอยู่ แต่งกาย การงาน อาชีพ ความเชื่อ ศาสนา เศรษฐกิจ การเมือง สภาพดินฟ้าอากาศ กล่าวได้ว่า ภาษากลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับทุกแง่มุมของวัฒนธรรมของมนุษยชาติโดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดทางภาษา จะสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาษา ซึ่งผู้แปลจะต้องศึกษาวัฒนธรรมของภาษาที่จะเปลอย่างลึกซึ้ง เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างของภาษา โดยรูปแบบเฉพาะของภาษาที่ใช้ในบันเทิงคดีนั้น ได้แก่ โวหารอุปมาอุปไมย (simile) โวหารอุปลักษณ์ (metaphor)
           
โวหารอุปมาอุปไมย (simile) เป็นการสร้างภาพพจน์ด้วยวิธีการเปรียบเทียบเพื่อชี้แจง  มีจุดมุ่งหมายเพื่อการชี้แจงอธิบายเน้นสิ่งที่กล่าวถึงให้ชัดเจนและเห็นภาพพจน์มากขึ้น ข้อสังเกตคือโวหารอุปมาอุปไมยมักมีคำที่ใช้เป็นลักษณะเฉพาะของภาษานั้นคือ คำว่า ดัง ดั่ง เป็นดัง เหมือน เปรียบเสมือน เหมือนกับราวกับ เปรียบประดุจ เหมือนดั่ง เสมอ เฉกเช่น นี่คือคำที่ใช้ในโวหารอุปมาอุปไมยในภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษ ได้แก่คำว่า Be ( is, am, are, was, were)  Be like , as…..as เป็นต้น ผู้แปลจะแปลโวหารนี้ได้ก็ต่อเมื่อวิเคราะห์ได้ว่า ประโยคนั้นเป็นการสมมุติแบบใด หากเป็นการสมมุติที่อาจเป็นได้ ผู้แปลจะต้องใช้โครงสร้างเงื่อนไนแบบที่ 1(Conditional sentence type I) แต่หากเป็นการเปรียบเทียบหรือสมมุติสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องใช้โครงสร้างเงื่อนไนแบบที่ 2 (Conditional sentence type II)และข้อความความนั้นแสดงว่าเป็นความจริง ผู้แปลจะต้องใช้ปัจจุบันกาล และส่วนที่เป็นการสมมุติจะต้องอยู่ในรูปของอดีต          ส่วนโวหารอุปลักษณ์ (Metaphor) เป็นการเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนกับไม่เหมือนมาเปรียบเทียบ ยกตัวอย่างเช่น เงินคือพระเจ้า เขาอยู่อยู่บนเส้นด้าย
            หลักการแปลโวหารอุปมาอุปไมย (simile) และโวหารอุปลักษณ์ (Metaphor) ผู้แปลจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างไวยากรณ์และความแตกต่างของวัฒนธรรมทางภาษา โดยจะมีข้อปฏิบัติทีควรคำนึงดังนี้ a. เมื่อรูปแบบของภาษาสอดคล้องกันและมีความหมายตรงกันระหว่างสองภาษานั้นสามารถแปลตรงตัวอักษรได้เลย เช่น ออกดอกออกผล = bear fruit b. เมื่อโวหารนั้นไม่มีความสำคัญต่อเนื้อหาผู้แปลสามารถตัดทิ้งได้เลย c.เมื่องานเขียนเป็น กวีนิพนธ์นั้นผู้แปลจะต้องทำหมายเหตุหรืออธิบายความหมายของอุปมาอุปไมยหรืออุปลักษณ์ไว้ในเชิงอรรถ d.สืบค้นโวหารอุปมาอุปไมยและอุปลักษณ์ที่ปรากฏในงานเขียนชนิดต่างๆในภาษแปล หรือสืบค้นจากเอกสารอ้างอิงจำพวกพจนานุกรมเฉพาะ เช่น Dictionary of Idioms หรือ  Expression หนังสือรวบรวมสุภาษิต คำพังเพย คำคม ดังนั้นเมื่อรู้ความหมายแล้ว ผู้แปลสามารถตัดสินใจได้ว่าควรตัดทิ้งหรือควรแปลเพื่อให้ไดอรรถรสของต้นฉบับ