วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างของโครงสร้าง

ความแตกต่างของโครงสร้าง
ของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

                   โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาเพราะถ้าหากเราไม่รู้หรือไม่เข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร ในการแปล ผู้แปลมักนึกถึงศัพท์ ถ้าหาได้ก็ไม่มีปัญหา ถ้าหาไม่ได้ก็คิดว่ามีปัญหา ปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง นักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงแม้จะรู้ศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้

1. ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
             ชนิดของคำ ( parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยค เราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ 
             ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) ประเภททางไวยากรณ์บางประเภทเป็นสิ่งสำคัญในภาษาหนึ่ง แต่อาจไม่สำคัญเลยในอีกภาษาหนึ่งก็ได้
                         1. คำนาม
                                      1.1 บุรุษ (person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่ นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด ( บุรุษที่ 1 ) ผู้ที่ถูกพูดด้วย ( บุรุษที่ 2 ) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง ( บุรุษที่ 3 ) นอกจากนั้นภาษาอังกฤษยังมีการเติม -ที่กริยาประธานที่บุรุษที่ 3 เอกพจน์ แต่ในบุรุษอื่นไม่มีการเติม สำหรับภาษาไทยไม่มีการแสดงความต่างเช่นนี้
                                      1.2 พจน์ (number) ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ ตัวกำหนด ( determiner ) ที่ต่างกัน เช่นใช้ a/an นำหน้าเอกพจน์เท่านั้น และแสดงพหูพจน์โดยการเติมหน่วยท้ายเสียง –s แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เช่นนี้
                                       1.3 การก (case) คือประเภทของไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอะไร  ในภาษาอังกฤษการกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ
                                      1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns) คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งปัน นามนับได้ และนับไม่ได้
            ในภาษาไทย คำนามทุกคำนับได้ เพราะเรามีลักษณนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้ และเราสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมได้ เช่น บ้าน 1 หลัง
                                      1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness) มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย
            
                        2  คำกริยา
                                   คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท เช่น กาล (tense) การณ์ลักษณะ (aspect) มาลา (mood) วาจก (voice)

                        3.  ชนิดของคำประเภทหนึ่ง
                                  ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา

2.    หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                  หน่วยสร้าง ( construction ) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน
                          2.1 หน่วยสร้างนามวลี  ตัวกำหนด ( Determiner ) + นาม ( อังกฤษ ) vs. นาม ( ไทย ) 
                                    อยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์ นามวลีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดปรากฎแต่ภาษาไทยไม่มี
                          2.2   หน่วยสร้างนามวลี  ส่วนขยาย + ส่วนหลักอังกฤษ  vs.  ส่วนหลัก + ส่วนขยายไทย ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม
                          2.3  หน่วยสร้างกรรมวาจก ( Passive constructions ) ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัดและแบบเดียวแต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
                          2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น  subject ( อังกฤษ )กับประโยคเน้น  topic ( ไทย )  ภาษาไทยจะเป็นภาษาเน้น topic ( topic oriented language ) ส่วนภาษาอังกฤษเน้น Subject ( Subject-oriented language )
                          2.5   หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย ( serial verb construction ) หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ หน่วยสร้างกริยาเรียง เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไป เรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า

สรุป
          >>>  เรื่องชนิดของคำ 
           >>>  เรื่องประเภททางไวยากรณ์
           >>>  เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น