วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การแปล

การแปล
ความสำคัญของการแปล
            ในโลกปัจจุบันถือว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะว่าเป็นภาษาที่นิยมใช้ในการสื่อสารในหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนถึงการศึกษาจึงแสดงให้เห็นว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  คนต่างชาติได้มีการติดต่อกันมากขึ้น การแปลจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศ และทั้งนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปล เพื่อประหยัดเวลาซึ่งถือว่างานแปลสามารถยึดเป็นอาชีพได้ นอกจากนี้นักแปลยังสามารถนำชื่อเสียงมาสู่ตนเองได้

การแปลในประเทศไทย
            การแปลในประเทศไทยเริมตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศษ จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการสอนภาษาอังกฤษในพระราชสำนัก เมื่อมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อกันสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนามีความต้องการด้านการแปลมากขึ้นเป็นลำดับ

การแปลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
            ผู้แปลจะต้องเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและจะต้องมีนักภาษาร่วมอยู่ด้วย เพื่อดูแลการใช้ภาษาที่ถูกต้อง และจุดสำคัญการแปลมีปัญหาอยู่มากเนื่องจากขาดความรู้เรื่องพื้นฐานทางวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่าการแปลเป็นเรื่องที่จำเป็น  จึงจำเป็นต้องมีนักแปลที่มีความรู้ในสาขาเฉพาะนั้นๆ

การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
            การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างการใช้ภาษา รวมทั้งอ่านเพื่อทำความเข้าใจ นักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจและนำความรู้ที่ได้มาใช้ในวิชาการแปล ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาสามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น

การแปลคืออะไร
            การแปลคือ การถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบสมบูรณ์และไม่มีการตัดต่อหรือเติมแต่งส่วนที่ไม่จำเป็นใดๆ ทั้งสิ้น การแปลเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนได้และประดิษฐ์งานแปลให้มีคุณภาพ

คุณสมบัติของผู้แปล
            >>> เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
            >>>  สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ถูกต้อง
            >>> เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา
            >>> ผู้แปลจะต้อรอบรู้

จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล
            สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้แก่สังคม

 วัตถุประสงค์ของการแปล
            >>> การฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
            >>> ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจและสามารถจับใจความสำคัญได้
            >>> ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง
            >>> ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ

บทบาทของการแปล
            การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร ไม่ได้รับสารคนแรกโดยตรง     แต่จะรับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง ในการสื่อสารรูปแบบนี้ผู้แปลจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร

ลักษณะของงานแปลที่ดี
            ลักษณะงานแปลที่ดี ควรจะต้องมีเนื้อหาและข้อเท็จจริงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ ใช้รูปประโยคสั้นๆ แสดงความคิดเห็นชัดเจน ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสม และรักษารูปแบบงานเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำให้เข้ากับสภาพสังคม เพื่อให้ผู้อ่านงานแปลเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
            1. ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลจะต้องเป็นธรรมชาติ
            2. เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
            3. ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ

การแปลกับการตีความจากปริบท
         ความใกล้เคียง  และความคิดรวบยอด ไม่ใช่งานแปลแบบให้มีความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ ดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นวามคิดรวบยอด และสามารถสรุปความหมายออกมาได้

การวิเคราะห์ความหมาย
    สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมายคือ
            1. องค์ประกอบของความหมาย ประกอบด้วย คำศัพท์ ไวยากรณ์ และเสียง
            2. ความหมายและรูปแบบ
                        >>> ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
                        >>> รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย
            3. ประเภทของความหมาย
                        >>> ความหมายอ้างอิง เป็นความหมายโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
                        >>> ความหมายแปล คือความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง
                        >>> ความหมายทางบริบท รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจมีหลายความหมาย จึงต้องพิจารณาจากบริบทจึงจะรู้ความหมาที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
                        >>> ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและโดยนัย

การเลือกบทแปล
            เลือกตามวัตถุประสงค์ของการแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะภาษา และเนื้อหาไปด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น